
เกษตรลำพูนร่วมรับคณะกรรมาธิการ สภาผู้แทนราษฏรผุด “ลำพูนโมเดล” ทำน้อยได้มาก
วันที่ 27 พฤศจิกายน 2564 นางสาวประหยัด มะโนพะเส้า หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ รักษาราชการแทนเกษตรจังหวัดลำพูน พร้อมด้วยนางกนกวรรณ พรหมตัน หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดลำพูน และเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดลำพูน ร่วมให้การต้อนรับคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม สภาผู้แทนราษฏร นำโดยนายอัครวัฒนาอัศวเหม ประธานคณะกรรมาธิการ ศาสตราจารย์กนก วงษ์ตระหง่าน รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่หนึ่ง นายวิทยา ทรงคำ รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่สอง นายรังสรรค์มณีรัตน์ กรรมาธิการ (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน) และคณะฯ ในการศึกษาดูงานการนำองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม มาพัฒนาอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรฐานรากอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีนายวรยุทธ เนาวรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน กล่าวต้อนรับ มีหัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่จังหวัดลำพูนที่เกี่ยวข้องร่วมติดตามคณะฯ โดยมีการศึกษาดูงานและพบปะเกษตรกร 2 จุด ดังนี้1.ศูนย์ถ่ายเทคเทคโนโลยียืดอายุลำไยเพื่อการส่งออก ตำบลเหล่ายาว อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน มีการนำเสนอการดำเนินงานของศูนย์ถ่ายเทคเทคโนโลยียืดอายุลำไยเพื่อการส่งออก ตำบลเหล่ายาว อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน โดยสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตลำไยตกต่ำ การให้บริการรมกำมะถันและห้องเย็น ซึ่งปัจจุบันมีกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกลำไยในพื้นที่มาใช้บริการ โดยอนาคตจะต่อยอดในผลผลิตการเกษตรอื่นๆ เช่น มะม่วง เพื่อให้การใช้ประโยชน์จากสถานที่ เครื่องจักร อุปกรณ์ให้คุ้มค่า มีนายอำเภอบ้านโฮ่ง เกษตรอำเภอบ้านโฮ่ง รวมถึงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมงาน2.ศูนย์เรียนรู้เกษตรพอเพียง(หนองปลิง)เทศบาลตำบลวังผาง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน มีการนำเสนอข้อมูลการเกษตรในพื้นที่ การรับทราบปัญหาผลผลิตการเกษตรล้นตลาดโดยเฉพาะมะม่วง การปลูกหัวบุกในสวนลำไย การจัดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์แก่เกษตรกรให้เหมาะสมในพื้นที่ มีหัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่ นายกเทศมนตรีตำบลวังผาง รักษาราชการแทนเกษตรอำเภอเวียงหนองล่อง ประธานแปลงใหญ่จังหวัดลำพูน รวมถึงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมงานทั้งนี้คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม สภาผู้แทนราษฏร ได้ให้แนวคิดเรื่อง การผลิต การแปรรูป คุณภาพของผลผลิตเป็นหัวใจของการผลิต ให้คิดรอบด้าน ไม่รอ ไม่ขอ ยืน/ทำด้วยตนเอง รวมถึงการผลักดันให้มีการนำองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม มาพัฒนาอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรฐานราก “ลำพูนโมเดล” มาใช้ หลังจากประสบความสำเร็จในหลายจังหวัด
You May Also Like

เกษตรจังหวัดลำพูนติดตามงานโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนา
18 ธันวาคม 2020
เกษตรจังหวัดลำพูน ประชุมหัวหน้ากลุ่ม/ฝ่าย เพื่อขับเคลื่อนงานส่งเสริมการเกษตร
27 เมษายน 2023